ห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน

การดำเนินงานของงานวิจัยทางด้านการคำนวณนั้น มีลักษณะเป็นเครื่องมือหรือ core-knowledge ในการสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยด้านงานทดลองหลากหลายสาขา โดยห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเชิงคำนวณพื้นฐาน (Basic research and development Computational) ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจำลองโครงสร้างที่มีสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic structure) หรือ เคมีควอนตัม (Quantum Chemistry) มุ่งหมายให้เป็นห้องปฏิบัติการพื้นฐานหลักของศูนย์นาเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมีหน้าที่ในการใช้เทคนิคการคำนวณทางเคมีเพื่อออกแบบหรือทำนายสมบัติของโครงสร้างในระดับนาโนเมตรที่มนุษย์มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น หรือทำนายสมบัติก่อนการทดลองในภาคปฏิบัติหรือสังเคราะห์สารต่างๆ ต่อไป รวมถึงทำให้เกิดความเข้าใจในเชิงลึกว่าแท้จริงแล้วเกิดกิจกรรมอะไรขึ้นในทางทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่พบในห้องปฏิบัติการ

สมาชิก

ชื่อ ความเชี่ยวชาญ ติดต่อ
ผศ.ดร. ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย (หัวหน้า) Quantum Chemistry yuthana@10.228.26.6
ดร. สุภาวดี นาเมืองรักษ์ Quantum Chemistry supawadee@10.228.26.6
นางสาวจิตติมา มีประเสริฐ Physical Chemistry
นางสาววิวาภร สุดแสวง Classical Molecular Dynamics

ผลงานเด่น

A Density Functional Theory Investigation on Intramolecular Hydrogen Transfer

ผศ.ดร. ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย จากห้องปฏิบัติการคำนวณระดับนาโน ศึกษาโครงสร้างที่เป็นไปได้ของระบบ bimetallic cluster ของ Ruthenium และ Osmium สารที่ศึกษานั้นเป็นสารที่สังเคราะห์ได้ในห้องปฏิบัติการของ ดร.รัชฎา บุญเต็ม ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์ไกรวัน ปัญญาอินทร์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร แต่สารดังกล่าวไม่เสถียร ผลการศึกษาพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงผ่าน intramolecular hydrogen transfer ได้เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ตกผลึกและหาโครงสร้างได้  โครงสร้างที่เหมาะสม ควรมีลักษณะดังรูป ซึ่งมีความสอดคล้องกับผลการทดลองหลังเกิดการ intramolecular hydrogen transfer  โดยได้ทำการศึกษา pathway เบื้องต้นของกระบวนการ intramolecular hydrogen transfer

บทความตีพิมพ์

– Pornthip Tongying, and Yuthana Tantirungrotechai, “A performance study of density functional theory with empirical dispersion corrections and spin-component scaled second-order Møller Plesset perturbation theory on adsorbate–zeolite interactions” Journal of Molecular Structure: THEOCHEM Volume 945, Issues 1-3 (2010), Pages 85-88.
– Yuthana Tantirungrotechai, Supacharee Roddecha, Kraiwan Punyain and Pisanu Toochinda, “Assessment of mixed basis set and ONIOM methods on the activation energy of ring opening reactions of substituted cyclobutenes”, Journal of Molecular Structure: THEOCHEM Volume 893, Issues 1-3 (2009), Pages 98-105.
– Radchada Buntem, Kraiwan Punyain, Yuthana Tantirungrotechai, Paul R. Raithby, and Jack Lewis, “A Density Functional Theory Investigation on Intramolecular Hydrogen Transfer of the [Os3(CO)11P(OMe)3(Ru(η5-C5H5))2] Cluster”, bulletin of the Korean Chemical Society (2010) Vol. 31, No. 4.
– Malinee Promkatkaew, Songwut Suramitr, Thitinun Monhaphol Karpkird, Supawadee Namuangruk, Masahiro Ehara and Supa Hannongbua, “Absorption and emission spectra of ultraviolet B blocking methoxy substituted cinnamates investigated using the symmetry-adapted cluster configuration interaction method” , The journal of Chemical Physics (2009).